Home » Posts tagged 'โรคซึมเศร้า'
Tag Archives: โรคซึมเศร้า
ความกตัญญู “ไม่ใช่” เครื่องหมายของคนดีในยุคปัจจุบันอีกแล้ว
หลายคนคงได้ยินประโยคหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ความกตัญญู เป็นเครื่องหมายของคนดี” ก็ยังมีอิทธิพลมากในสังคมไทยที่ยังยึดถือประโยคนี้อยู่ หากใครไม่คิดกตัญญูหรือทำคุณต่อบิดามารดา จะหากินอะไรก็ไม่ขึ้น บางทีก็มีเค้าความจริงอยู่บ้าง แต่ก็ต้องดูที่บริบทของแต่ละครอบครัวด้วยเช่นกัน ที่ความเชื่อข้อนี้ยังเป็นข้อโต้เถียงอยู่ว่า ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดีจริงๆ หรือเป็นสิ่งที่ยัดเยียดจากคนในสังคม?
การศึกษาในเรื่องนี้น่าสนใจมาก ถือได้ว่าเปิดมิติใหม่อีกมุมมองของข้อถกเถียงเรื่องนี้อยู่ ซึ่งถ้ามองในเรื่องการนิยามนั้นจะนิยามได้เป็นข้อๆ ของ ความกตัญญู ที่สังคมไทยแต่ละชนชั้นกำหนดดังนี้

ความกตัญญู เปลี่ยนแปลงไปจนนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า

ความกตัญญ ที่พ่อแม่อย่างเราต้องการประการแรก คือ มีลูกไวให้ทันใช้ หรือมีลูกเพื่อจะได้เลี้ยงตัวเองตอนแก่ แน่นอนว่าเวลามีลูก คนเป็นพ่อแม่ก็หวังพึ่งพาลูกสักครั้งในชีวิต อยากเจ้ากี้เจ้าการ อยากพึ่งพาตามใจอยาก อยากเรียกร้องให้เห็นความสำคัญตนเองตอนไม้ใกล้ฝั่ง แต่ลืมไปว่าลูกก็มีชีวิตของลูกเอง การนิยามเรื่องความกตัญญูเพื่อให้ทันใช้ตอนโตนั้นถือว่าเป็นนิยามที่คับแคบมาก
เนื่องการศึกษาพบว่าเป็นช่องโหว่ในการเกิดโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น เพราะช่วงวัยเด็กย่อมมีพัฒนาการตามวัยที่เปลี่ยนแปลง และเป็นรอยต่อสู่วัยรุ่นในอนาคต ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้า การถูกบังคับจากครอบครัวในเรื่องต่างๆ ซึ่งเด็กและวัยรุ่นยังไม่มีภูมิคุ้มกันในชีวิตมากพอ อาจทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด

ความกตัญญ ที่พ่อแม่อย่างเราต้องการประการที่สอง คือ กตัญญูรู้คุณคน ต้องรู้จักการตอบแทน ถ้าใช้คำว่ากตัญญูให้ถูกทางก็เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง แต่การนำความกตัญญูก็มีโอกาสใช้ในทางที่ผิดเช่นกัน เช่น ระบบอุปถัมภ์ หรือเรียกกันว่าใช้เส้นสาย เอาความดีเป็นเครื่องต่อรอง
ซึ่งการใช้ช่องโหว่ของ ความกตัญญู เป็นเรื่องที่เลวร้ายกว่าที่คิดไว้ จากการศึกษาพบว่าการกตัญญูมีผลต่อเส้นสายอย่างมาก เนื่องจากจะกลายเป็นทวงบุญคุณ และลดคุณธรรมบางอย่างลงไปแทน จะกลายเป็นสนับสนุนระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) ไปโดยปริยาย

ความกตัญญ ที่พ่อแม่อย่างเราต้องการประการที่สาม คือ เราต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ ผิดถูกเขาก็คือพ่อแม่ จะมองในภาพนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด หากพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีพอที่ลูกจะกตัญญูด้วย หลายคนตัดสินจากสิ่งที่เห็นภายนอก มีไม่น้อยที่พ่อแม่ไม่ให้ความรักเท่าๆ กัน จะผิดจะถูกไม่สนคิดแค่เป็นพ่อแม่ และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกเลย
จากการศึกษาพบว่าพ่อแม่ที่เรียกร้องต่อลูกเรื่องความกตัญญู กลับสร้างความอึดอัดใจต่อลูกมาก เนื่องจากพ่อแม่ใช้ข้อนี้เพื่อเห็นแก่ตัว และใช้ข้อนี้เพื่อเอาชนะ และทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ลูกจะมีอารมณ์แปรปรวนมากในช่วงวัยรุ่น และมีโอกาสก้าวร้าวมากกว่า เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เด็ก
สรุปการศึกษาในภาพรวมนั้น การกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณจะว่าดีก็ดีมาก แต่ก็มีข้อเสียแอบแฝงอยู่ เราจะต้องดูบริบทของเหตุการณ์และมองตามสภาพความเป็นจริงเป็นหลัก ถ้าเราทำความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ใช้ในทางที่ถูกต้อง เหมาะสมตามครรลองครองธรรม และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความกตัญญู จะเป็นเครื่องมือที่น่าศรัทธายิ่ง ไม่ใช่มีเอาไว้เพื่อข่มขู่ บังคับขู่เข็ญ เป็นข้ออ้างในการทำผิด หรือขัดขวางมนุษย์ซึ่งกันและกันอีกต่อไป
ติดตามข่าวสาร ข้อมูลด้านการศึกษา ที่เราได้นำมาให้คุณถึงที่ในเว็บไซต์นี้
บัณฑิตที่จบใหม่ กับคำถามว่า”มีงานหรือยัง?”
จากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องหางานทำ นักศึกษาที่จบใหม่ เราเรียกกันว่า “บัณฑิต” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งตัวบัณฑิตเอง ครอบครัว และคนรอบข้างมักจะรู้สึกภาคภูมิใจและยินดีปรีดาด้วย เพราะกว่าบัณฑิตจะเรียนจบนั้น ก็ยากลำบากอยู่พอสมควร เนื่องด้วยทั้งเนื้อหาการเรียนที่เข้มข้นและละเอียดมากกว่าในระดับมัธยมศึกษา เพราะการศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น เราจะเลือกคณะหรือสาขาวิชาที่เราสนใจที่จะนำไปประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

แต่ บัณฑิตที่จบใหม่ ส่วนใหญ่มักจะต้องเจอกับคำถามยอดฮิตที่ว่า “ได้งานหรือยัง?” “ทำงานอะไรหรอ?” “จะทำงานหรือเรียนต่อ?” เป็นต้น ถ้าหากบัณฑิตนั้นจบมาแล้วมีงานทำเลยก็คงที่จะดี แต่ในส่วนของบัณฑิตที่จบออกมาแล้วยังเจอทางแยกที่มากมาย ยังไม่สามารถสรุปตัวเองได้นั้น ก็คงยากที่จะตอบคำถามเหล่านั้น

บัณฑิตที่จบ มักเจอคำถามจี้จุดที่อาจทำให้รู้สึกแย่ได้
บัณฑิตที่จบใหม่ ยังหางานไม่ได้ ก็จะมีสภาวะที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากในขณะที่บัณฑิตบางคนมีงานมีการทำแล้ว แต่ตนเองยังไม่ได้มีงานทำหรือมีรายได้เลย ก็ทำให้คิดว่าตนเองไม่มีศักยภาพ ไม่ดีพอ เรียนจบมาไม่มีคุณภาพ รู้สึกว่าตนเองแย่ ไม่มี ความสุข รู้สึกว่าทำให้ครอบครัวไม่ภาคภูมิใจเท่าที่ควร

ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า หรือถึงขั้นฆ่าตัวตายได้เลย ซึ่งบัณฑิตที่ไม่มีงานทำมีอาการเหล่านี้อยู่บ้าง แล้วยิ่งถ้ามีคนรอบข้างมากดดันหรือถามคำถามจี้จุดอีกก็ยังจะทำให้พวกเขารู้สึกแย่หรือรู้สึกไม่มีคุณค่ากว่าเดิมอีกด้วย

การเป็นบัณฑิต เป็นเพียงการเริ่มต้นเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะ บัณฑิตที่จบใหม่ มันค่อนข้างที่จะลำบากหรือยากเย็นอยู่พอสมควร แต่ลองคิดดูนะว่ากว่าบัณฑิตจะผ่านชีวิตมหาวิทยาลัยได้ก็หนักหนาสาหัสอยู่พอประมาณ สิ่งเหล่านั้นในมหาวิทยาลัยจะเป็นพื้นฐานหรือประสบการณ์ที่จะทำให้เราออกไปเผชิญโลกแห่งความเป็นจริงได้โดยที่เราจะต้องก้าวผ่านอุปสรรคและปัญหาไปได้ และบัณฑิตควรจะให้กำลังใจตัวเองเยอะๆ ไม่ไปฟังคำคนอื่นที่ทำให้จิตใจเราย่ำแย่มากเกินไป เราจะต้องก้าวผ่านไปได้ด้วยดี
ติดตามข่าวสาร ข่าวการศึกษาไทย ได้ที่เว็บไซต์นี้
แนะนำเรื่องราวการศึกษาไทยมาให้คุณได้ติดตามก่อนใคร คุณครูที่เด็กรัก เป็นแบบไหน