Home » Posts tagged 'การพูด'
Tag Archives: การพูด
ศิลปะการพูด ควรพูดอย่างไรให้ได้ผลดีและประทับใจผู้ฟัง
การพูด มีหลายประเภท หลายวาระโอกาส หากเป็นการพูดในที่ชุมชนด้วยแล้ว ต้องเรียนรู้ที่จะพูดอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล
ขอแนะนำ ศิลปะการพูด ที่จะช่วยให้คุณได้พูดอย่างมีทักษะและ พูดดีจนมีคนชม จะทำอย่างไรนั้น เราตามไปดูกันเลย

ศิลปะการพูด ที่ผู้พูดจำเป็นต้องรู้เอาไว้
ศิลปะการพูด ประเภทการพูดข้อแรกที่อยากแนะนำให้ผู้พูดได้รู้ ก็คือ พูดแบบปัจจุบันทันด่วน ประเภทของการพูดนี้เป็นการพูดแบบกะทันหัน ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
- ตั้งสติ ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจ บอกตัวเองว่าก็แค่พูดเท่านั้น
- แสดงอาการยินดีที่จะได้พูด ไม่ควรปฏิเสธหรือต่อรองเพราะเสียมารยาท
- หาข้อมูลการพูดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ดินฟ้าอากาศ
- นำข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานกับประสบการณ์ของตนเอง

ศิลปะการพูด ประเภทการพูดข้อที่สองที่อยากแนะนำให้ผู้พูดได้รู้ ก็คือ พูดจากความทรงจำ เป็นการพูดในที่ชุมชนที่มาจากใจ เป็นประเภทของการพูดที่ใช้ได้ทุกโอกาส ให้ปฏิบัติดังนี้
- พูดในเรื่องที่ตนมีความรู้ มีประสบการณ์
- ฝึกฝนโดยใช้วิธีจำเค้าโครงเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น นำเค้าโครงมาลำดับในความคิด แล้วเล่าออกมาให้ต่อเนื่องแนบเนียน
- ห้ามท่องจำเพราะจะทำให้การพูดไม่เป็นธรรมชาติ
- หากเป็นมือใหม่ให้ลักไก่ได้เล็กน้อยด้วยการจดหัวข้อย่อยๆ เรียงตามลำดับในกระดาษแผ่นเล็กๆ ใช้การเหลือบมองเวลาพูดหากหลงลืม

ศิลปะการพูด ประเภทการพูดข้อที่สามที่อยากแนะนำให้ผู้พูดได้รู้ ก็คือ พูด (อ่าน) โพย เป็นประเภทของการพูดที่ไม่ยากแต่พูดดีก็ไม่ง่ายนัก ใช้พูดในพิธีการต่างๆ เช่น กล่าวให้โอวาท กล่าวปราศรัย กล่าวสดุดี กล่าวรายงาน กล่าวเปิดงาน ให้ปฏิบัติดังนี้
- เขียนโพยให้อ่านชัดเจน อาจเน้นข้อความในหัวข้อใหญ่ๆ
- ใช้ภาษาที่เป็นทางการมากกว่าภาษาพูดทั่วไป และไม่ควรใช้ศัพท์เทคนิค
- ภาษาที่ใช้ต้องสละสลวยลื่นไหลให้เข้าปาก
- ฝึกอ่านโพยให้คล่องแคล่วไม่ติดขัด
- ไม่ก้มหน้าก้มตาอ่านอย่างเดียว อ่านให้เหมือนกับการพูดทั่วไปที่เน้นเสียงในส่วนที่ควรเน้น และสบตาผู้ฟังเป็นครั้งคราวด้วย

ศิลปะการพูด ประเภทการพูดข้อที่สี่ที่อยากแนะนำให้ผู้พูดได้รู้ ก็คือ พูดท่องจำจากโพย เป็นการพูดในที่ชุมชนซึ่งคล้ายการพูดแบบอ่านโพยแต่ท่องจำนำไปพูด ซึ่งฟังเป็นธรรมชาติและไม่ลงทะเลหากโพยเขียนดี มักใช้กับงานพิธีหรือโอกาสสำคัญๆ ที่พูดเพียง 3 – 4 นาทีเท่านั้น ให้ปฏิบัติดังนี้
- ต้องตั้งสติให้ดีเพราะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
- การพูดในที่ชุมชนประเภทนี้ ไม่ควรพะวงกับเนื้อหาในการพูดเกินไป เพราะอาจหลงลืมการใช้สายตา กิริยาท่าทางประกอบในการพูด ที่ช่วยสร้างความน่าสนใจและความเป็นธรรมชาติในการพูด
ติดตามข่าวสาร ข้อมูลข่าวการศึกษา ที่เราได้นำมาให้คุณถึงที่ในเว็บไซต์นี้
การพูดให้ประสบผลสำเร็จ ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อเป็นผู้พูดที่มีผู้ฟังชื่นชม
ไม่ว่าจะเป็นการพูดในที่ชุมชนทั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ตาม หากมีการเตรียมตัวล่วงหน้าย่อมได้ผลลัพธ์ดีกว่า
วันนี้ขอแนะนำ การพูดให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ตามมาดูกันเลย

การพูดให้ประสบผลสำเร็จ ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เตรียมเนื้อหาสาระ เป็นการเตรียมเนื้อหาในการพูดให้พร้อมที่สุดดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 เลือกหัวข้อ
การพูดให้ประสบผลสำเร็จ ต้องเลือกเรื่องที่จะพูดให้เหมาะสมกับตัวเอง เป็นเรื่องที่เรามีความรู้ ความสนใจ หรือความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ นอกจากนี้ควรมีความเหมาะสมกับผู้ฟังด้วย เป็นประโยชน์ของการเตรียมการพูด เพื่อสร้างความสนใจคล้อยตาม
- ขั้นตอนที่ 2 กำหนดขอบเขต
คือการกำหนดขอบเขตหรือจุดมุ่งหมายของสาระที่จะพูด ต้องรู้ว่าตัวเองจะพูดเพื่ออะไรเพื่อให้ การพูดให้ประสบผลสำเร็จ รู้ว่าจะครอบคลุมเนื้อหาขนาดไหน มีความลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดด้วย

- ขั้นตอนที่ 3 หาข้อมูล
คือการหาข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการพูด แนะนำให้จดบันทึกข้อมูลทั้งหมดว่ามาจากแหล่งใด ใครเป็นคนพูดหรือเขียนเอาไว้ เพื่อนำมาอ้างอิงได้สะดวกในภายหลังครับ
- ขั้นตอนที่ 4 จัดระเบียบ
เป็นการวางเค้าโครงเรื่องที่จะพูดหรือลำดับการพูด ว่าอะไรควรพูดก่อนและอะไรควรพูดทีหลัง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนได้ สามารถแบ่งเค้าโครงเรื่องได้ 3 ส่วนดังนี้
– ส่วนที่ 1 คือ คำนำ
– ส่วนที่ 2 คือ เนื้อเรื่อง
– ส่วนที่ 3 คือ บทสรุปหรือสรุปความ
การพูดให้ประสบผลสำเร็จ ต้องมีการวางโครงเรื่องอย่างเป็นขั้นตอน
การพูดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะใช้ในการสื่อสาร โดย การพูดให้ประสบผลสำเร็จ แบบเตรียมตัวล่วงหน้าจะต้องมีการวางโครงเรื่องอย่างเป็นขั้นตอนด้วย เพื่อทำให้เรื่องที่จะพูดมีความสมบูรณ์ น่าสนใจ ไม่สับสน มีวิธีการดังนี้

1. เขียนหรือร่างโครงเรื่องลงในกระดาษเสียก่อน
2. เขียนโครงเรื่องโดยเรียงตามลำดับดังนี้
– คำนำ ควรจัดให้มีเนื้อหาประมาณ 10 – 15% อย่ามากไปเพราะผู้ฟังจะเดินหนีเสียก่อน
– เนื้อเรื่อง ควรจัดให้มีเนื้อหาประมาณ 70 – 80%
– บทสรุป ควรจัดให้มีเนื้อหาประมาณ 10 – 15% อย่ายาวไป เพราะต้องไม่ลืมว่าหนังใกล้จบแทบไม่เหลืออะไรให้คนดูลุ้นอีกแล้ว…

3. ควรตัดแต่งโครงเรื่องให้มีความสมบูรณ์ที่สุด โดยอาจเพิ่มเติมเนื้อหา ตัดทอนเนื้อหา เปลี่ยนแปลงภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังตามความเหมาะสม
4. มีของแถมให้
เชื่อว่าใครๆก็ชอบของแถมกันทั้งนั้น กับการพูดแบบเตรียมตัวล่วงหน้าก็สามารถมีของแถมได้เช่นกัน ซึ่งช่วยสร้างความสนุกสนานน่าสนใจ รวมถึงให้ข้อคิดที่ดีแก่ผู้ฟังด้วย ของแถมที่ว่ามีดังนี้ครับ
– สุภาษิตสอนใจ
– คำคมบาดใจ
– นิทานสอนใจที่ให้ข้อคิด
– ประสบการณ์จากชีวิตจริง
ติดตามข่าวสาร ข้อมูลด้านการศึกษา ที่เราได้นำมาให้คุณถึงที่ในเว็บไซต์นี้